ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)

เซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน โดยสามารถแบ่งการเชื่อมต่อออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบท ห่างไกลการไฟฟ้าหลักที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่สำคัญประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ (Changer controller) แบตเตอรี่ (Battery) และชุดอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (Inverter) แบบอิสระ แสดงการเชื่อมต่อใช้งาน
2. การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า (PV Grid connected system)การผลิตไฟฟ้าอาจจะผลิตไว้เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าหรือใช้ในกิจการของตนเอง เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เชื่อมต่อสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง เขตอุตสาหกรรมที่มีการใช้โหลดจำนวนมาก หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึงพื้นที่ อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Grid inverter) แสดงการเชื่อมต่อใช้งาน
3. การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบส่วนใหญ่จะเป็นอาคาร โรงงานที่มีเครื่องยนต์ดีเซลสำรองฉุกเฉินอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีพื้นที่หลังคาในการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และจำนวนโหลดใช้งานในพื้นที่เยอะ ทำให้ไฟฟ้าที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยลดต้นทุน ประหยัดพลังงานการจ่ายค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงได้
ขอขอบคุณข้อมูล : กองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy