อัพเดทล่าสุด: 15 ก.พ. 2566 | 825 ผู้ชม | GALLERY
ทางออกอยู่ตรงไหน? ค่าไฟไทยในยุคของแพง ค่าแรงถูก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานเวทีสาธารณะ “ทางออกอยู่ตรงไหน? ค่าไฟไทยในยุคของแพง ค่าแรงถูก” ขึ้น โดยมีวิทยากร 4 ท่านได้แก่ - คุณสฤณี อาชวานันทกุล บริษัทป่าสาละ จำกัด - รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - คุณอาทิตย์ เวชกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) - คุณวิญญู วงศ์สุรวัฒน์ Spokedark TV ซึ่งในงานวิทยากร 4 ท่าน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาของค่าไฟฟ้า รวมไปถึงนโยบายที่อาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และสังคม หากยังคงใช้พลังงานฟอสซิลต่อไป เพราะในต่างประเทศมีการตื่นตัวในเรื่อง Climate Change โดยในงาน คุณอาทิตย์ เวชกิจ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) / ประธานคณะกรรมการบริษัท นีโอ คลีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด มีการเสนอให้ ‘มีการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน’ และให้ประชาชนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าได้ด้วย รวมไปถึงเสนอให้มีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในการเผชิญกับสภาวะโลกร้อน ซึ่งประเทศไทยในตอนนี้อยู่ในลำดับที่ 9 ของประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ส่วนในภาคอุตสาหกรรม แผนที่รัฐบาลไทยได้สัญญาไว้ว่า ในปี 2050 จะมีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และการท่องเที่ยว อาจจะมีเวลาเพียง 3 - 8 ปี ในการลดการปล่อยคาร์บอน หากยังไม่ผลักดันให้เป็นสังคมลดการปล่อยคาร์บอนจะทำให้เกิดปัญหาในหลายภาคส่วน เช่น ภาคท่องเที่ยว ที่ในอนาคตจะมีการแสดงลำดับการปล่อยคาร์บอน ซึ่งหากไม่ถูกจัดอยู่ในระดับ Low Carbon ก็จะมีนักท่องเที่ยวตัดสินใจไม่มาได้ หรือสินค้าที่ผลิตหากไม่ได้รับมาตรฐาน Low Carbon ก็จะเจอกับปัญหากำแพงภาษี ทำให้โรงงานที่ต้องการเครดิตในเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอนจำเป็นต้องย้ายฐานผลิตไปยังประเทศอื่นๆ คุณอาทิตย์ เวชกิจ ยังได้กล่าวว่าอีกประเด็นที่น่าสนใจว่า พลังงานหมุนเวียนมีอยู่เป็นพันเท่าของพลังงานที่ใช้ต่อปี ถึงแม้เราไม่มีการใช้พลังงานจากฟอสซิล เราก็มีพลังงานสะอาดใช้แบบไม่มีวันหมด ซึ่งจะเห็นได้ว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนนั้นสามารถเป็นทางแก้ไขปัญหาในเรื่องของพลังงานได้อย่างยั่งยืน
1 รูป, 790 ผู้ชม
1 รูป, 850 ผู้ชม